หน้าหลัก > เราคือใคร
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center : Thai-IDC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหน่วยงานกลางที่จะเชื่อมโยงบูรณาการบริการด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กับหน่วยงานเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากการรับจ้างผลิตสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Shift from OEM ODM OBM) ยกระดับความสามารถด้านการออกแบบของผู้ประกอบการ (Firms upgrade to design) สร้างปัจจัยเอื้อต่อการเข้าถึงการบริการออกแบบและสนับสนุนการพัฒนาด้านการออกแบบของภาคอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นศูนย์กลาง ในระดับอาเซียน เพี่อสร้างรายได้และขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ Global Value Chain
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม จัดตั้งศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ (Thailand Industrial Design Center : Thai-IDC) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เป็นหน่วยงานกลางที่จะเชื่อมโยงบูรณาการบริการด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์กับหน่วยงานเครือข่ายตลอดห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) เพื่อส่งเสริมและสนับสนุนการปรับเปลี่ยนโครงสร้างจากการรับจ้างผลิตสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์ (Shift from OEM ODM OBM) ยกระดับความสามารถด้านการออกแบบของผู้ประกอบการ (Firms upgrade to design) สร้างปัจจัยเอื้อต่อการเข้าถึงการบริการออกแบบและสนับสนุนการพัฒนาด้านการออกแบบของภาคอุตสาหกรรมไปสู่การเป็นศูนย์กลาง ในระดับอาเซียน เพี่อสร้างรายได้และขับเคลื่อนภาคอุตสาหกรรมไทยเข้าสู่ Global Value Chain
สถาบันเครือข่าย
ภาคเอกชน
ศูนย์ออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ ดำเนินการตั้งแต่ปีปลายงบประมาณ พ.ศ. 2559 จนถึงปัจจุบัน (ปีงบประมาณ พ.ศ. 2562) ได้ดำเนินการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมให้สามารถ ยกระดับการผลิต สร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ใหม่ ประกอบด้วย 4 กิจกรรมหลัก ได้แก่
รัฐบาลปัจจุบันให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศโดยให้ความสำคัญกับการพัฒนาอุตสาหกรรมและ SMEs เป็นหลักทั้งในด้านการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเป้าหมาย เพิ่มผลิตภาพ (Productivity) และเพิ่มมูลค่าสินค้าภาคอุตสาหกรรมให้สูงขึ้นโดยมีจุดมุ่งหวังเพื่อยกระดับขีดความสามารถ ในการแข่งขันของอุตสาหกรรมไทยในเวทีโลก และนาพา ประเทศไทยให้ก้าวสู่การเป็นประเทศที่มีรายได้สูง โดยรองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) ได้มอบนโยบายให้กระทรวงอุตสาหกรรมรับผิดชอบการ ดำเนินงาน 2 เรื่องหลัก คือ การเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมเป้าหมาย และการพัฒนาการออกแบบและการสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมไทย โดยสิ่งที่จะต้องดำเนินการ เพื่อผลักดันให้การออกแบบมีมูลค่าเพิ่ม สูงขึ้น เพื่อสร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจและเป็นศูนย์กลางการออกแบบระดับอาเซียนได้นั้น จะต้องมีการดำเนินงานที่ครอบคลุมทุกขั้นตอนตั้งแต่การกำหนดทิศทางการดำเนินงาน ด้านการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่สอดคล้องกับกระแสการเปลี่ยนแปลงทั้งในปัจจุบัน และในอนาคต โดยการออกมาตรการเพื่อสนับสนุนการออกแบบ การให้สิทธิประโยชน์ ด้านต่างๆ ทั้งด้านภาษี การสนับสนุนเงินลงทุน การบูรณาการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และสถาบันการศึกษา เพื่อร่วมกันดำเนินงาน การพัฒนาบุคลากร ด้านการออกแบบ ร่วมถึงการจัดกิจกรรมเพื่อสร้างความตระหนัก และการถ่ายทอดองค์ความรู้ด้านการออกแบบ
โดยปัจจุบันสินค้าไทยยังมีมูลค่าไม่สูงนักในขณะที่มีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการออกแบบและพัฒนาผลิตภัณฑ์จานวนมากซึ่งรวมถึงกรมส่งเสริมอุตสาหกรรมที่ได้มีการดำเนินโครงการที่เกี่ยวข้องกับการสร้างนักออกแบบผลิตภัณฑ์และแฟชั่นเชิงสร้างสรรค์ การสร้างนักออกแบบในเชิง Design และ Innoneering และการพัฒนาทักษะด้านการออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์และบรรจุภัณฑ์ให้กับนักออกแบบไทยให้เกิดสินค้าและบริการสร้างสรรค์ใหม่ๆ การยกระดับผลิตภัณฑ์ SMEs สู่ตลาดโลก โดยการพัฒนารูปแบบและคุณภาพของผลิตภัณฑ์ ในเชิง Design และนวัตกรรม เพื่อให้ตรงกับความต้องการของตลาด รวมทั้งการขับเคลื่อนอุตสาหกรรมแฟชั่นไทยสู่การเป็นที่ยอมรับในวงการแฟชั่นระดับอาเซียนผ่านกลยุทธ์ สร้างพื้นที่เพื่อส่งเสริมพัฒนาผู้ประกอบการอุตสาหกรรมแฟชั่นภายใต้แนวคิด ดีสเปซ (DSpace) ดีไซน์ (Design) ดีเวลลอป (Developed) ซึ่งเป็นกลยุทธ์การพัฒนาอุตสาหกรรม แฟชั่นครบวงจรสู่การสร้างมูลค่าเพิ่มทางเศรษฐกิจ (Value Creation) ตั้งแต่กระบวนการผลิตการพัฒนาผลิตภัณฑ์ การพัฒนาตราสินค้า การเชื่อมโยงสู่เครือข่าย (Supply Chain) ทั้งภาคการผลิตและธุรกิจ การต่อยอดสู่ช่องทางการค้า รวมทั้งการขยายโอกาสทางการตลาด ทั้งในและต่างประเทศ แต่การดำเนินโครงการดังกล่าวยังไม่ก่อให้เกิดมูลค่าเพิ่มในทาง เศรษฐกิจได้เท่าที่ควร ผู้รับบริการยังไม่สามารถเข้าถึงบริการ โดยเฉพาะการเชื่อมโยงนักออกแบบสู่ภาคการผลิตยังมีไม่มาก ดังนั้นเพื่อให้การดำเนินงานในการพัฒนาการออกแบบ และสร้างมูลค่าเพิ่มอุตสาหกรรมไทยทั้งในด้านการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ด้วยวิทยาการ ด้วยความคิดสร้างสรรค์ และด้วยนวัตกรรม เพื่อสร้างรายได้ในระบบเศรษฐกิจของประเทศ ที่จะก้าวข้ามกับดักรายได้ ปานกลางไปสู่ประเทศรายได้สูงตามนโยบายดังกล่าวบรรลุผลอย่างมีประสิทธิภาพ รวมทั้งสามารถกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานด้านการออกแบบ และพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อสร้างมูลเพิ่ม ได้อย่างครอบคลุมเหมาะสม และสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน กรมส่งเสริมอุตสาหกรรมจึงได้ดำเนินโครงการศูนย์ออกแบบและพัฒนา ผลิตภัณฑ์ ซึ่งมีจุดมุ่งหมายเพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีมูลค่าเพิ่มที่สูงขึ้น โดยพัฒนาส่งเสริมตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ เพื่อให้ครอบคลุมตลอดทั้งห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) พร้อมทั้ง ยกระดับการออกแบบให้เป็นศูนย์กลางการออกแบบในระดับอาเซียน
นายสรัญพงศ์ อัครธนันพงษ์
ผู้อำนวยการกลุ่มส่งเสริมการออกแบบอุตสาหกรรม
นายอมรนัติ คงปรีชา
นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการพิเศษ
นางสาวสีวลี ศิลป์วรศาสตร์
นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ชำนาญการ
นางสาวภศณมน หงวนไธสง
นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการ
นายกิติบดี อินทปัญญา
นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์ปฏิบัติการ
นายสมเจตน์ ทองสา
ช่างไม้ ระดับ 4
นางสาววนาลี ชอว์อุปถัมภ์
ช่างเย็บสานทอและประดิษฐ์ 2
นายระนอง เพ็ชรดวง
นายช่างเทคนิคอุตสาหกรรม
นางสาวพัณนิภา มงคลเสริมศิริ
นักวิชาการออกแบบผลิตภัณฑ์
ว่าที่ ร.ต. จักรพงศ์ ชาติสิทธิพัฒน์
นักวิชาการอุตสาหกรรม
นายวรพัฒน์ สุริชัยพาณิชย์
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการพัฒนาอุตสาหกรรม
นายสนธิชัย ช่วยหนู
เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานการพัฒนาอุตสาหกรรม