คำนำ
การสร้างสรรค์รูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้โดดเด่น หรูหรา หรือแปลกใหม่มากขึ้น ก็ย่อมต้องมีค่าใช้จ่ายที่สูงขึ้นเช่นกัน และด้วยข้อจำกัดหลายด้านของผู้ประกอบการ ไม่ว่าจะเป็น ด้านสถานที่ ด้านสินค้า และที่สำคัญคือด้านเงินทุนการผลิต ทำให้การปรับปรุงรูปแบบบรรจุภัณฑ์มีข้อจำกัดมาก จนไม่สามารถพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์ให้มีความโดดเด่นได้มากเท่าที่ควร ดังนั้น สิ่งสำคัญประการแรกสำหรับการพัฒนารูปแบบบรรจุภัณฑ์นั้น ควรเป็นการเลือกวัสดุที่เหมาะสม เนื่องจากวัสดุเป็นปัจจัยแรกที่ต้องคำนึงถึง ก่อนที่จะดำเนินการออกแบบในลำดับต่อไป การเลือกวัสดุที่จะนำมาใช้จึงต้องเป็นวัสดุที่มีคุณภาพดีและมีความหลากหลาย รองรับการพิมพ์ได้หลายรูปแบบ ราคาถูกกว่าวัสดุชนิดอื่น หาได้ง่าย และมีคุณสมบัติในการประยุกต์ใช้ได้หลายลักษณะ กระดาษ เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่มีความเหมาะสมในการจัดทำบรรจุภัณฑ์หลายประเภท ทั้งบรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าอุปโภคและบริโภค บรรจุภัณฑ์สำหรับการจัดจำหน่ายและการขนส่ง เนื่องด้วยคุณสมบัติที่หลากหลายของกระดาษ ที่มีลักษณะให้เลือกหลายรูปแบบตามการใช้งาน ราคาไม่แพงจนเกินไป หาได้ง่าย และมีความสามารถในการรองรับการพิมพ์ได้หลายระบบ ซึ่งสามารถตอบสนองการแก้ปัญหาข้อจำกัดของผู้ประกอบการดังที่กล่าวมาแล้วได้ กระดาษจึงเป็นวัสดุที่เหมาะสมสำหรับการทำบรรจุภัณฑ์มากที่สุดชนิดหนึ่งเลยทีเดียว
ด้วยเหตุนี้ จึงมีความจำเป็นที่จะต้องศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวข้องกับบรรจุภัณฑ์กระดาษ เพื่อให้เกิดความเข้าใจในบรรจุภัณฑ์กระดาษอย่างละเอียด และเพื่อให้บุคลากร สามารถนำองค์ความรู้ที่ได้รับไปประยุกต์ใช้และพัฒนาอุตสาหกรรมบรรจุภัณฑ์กระดาษ อันจะก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในระดับต่อไป
สารบัญ
- หลักการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ หน้า
- ความหมายของบรรจุภัณฑ์
- บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าประเภทอาหาร
- เรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์
- ศึกษาพระราชบัญญัติ
- จุดยืนของการออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์
- ลักษณะของศิลปะที่เป็นพาณิชย์ศิลป์
- ลักษณะของฉลากตามกำหนดของ อย.
- การออกแบบตราสินค้า
- การออกแบบเรขศิลป์บนบรรจุภัณฑ์ (Graphic Design) 1
- กฎหมายเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
- พระราชบัญญัติมาตราชั่งตวงวัด พ.ศ. 2466
- พระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. 2522
- พระราชบัญญัติมาตรฐานอุตสาหกรรม พ.ศ. 2511
- พระราชบัญญัติ เครื่องหมายการค้า (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2543
- ประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 194) พ.ศ. 2543 เรื่อง ฉลาก
- ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลากเรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. 2541
- ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2542
- ข้อความหรือคำเตือนที่ต้องแสดงในฉลากที่กำหนดไว้ในประกาศสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
- ข้อความและคำเตือนแสดงในฉลากที่กำหนดในเกณฑ์การพิจารณา 45
- ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย
- องค์กรที่รับผิดชอบพระราชบัญญัติเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
- หน่วยงานของรัฐที่รับผิดชอบเกี่ยวกับบรรจุภัณฑ์
- องค์กรเอกชนที่ให้การส่งเสริมการบรรจุภัณฑ์อาหาร
- เอกสารอ้างอิง