ความรู้และการออกแบบ

หน้าหลัก > ความรู้และการออกแบบ > สิ่งที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 9 / 9 (จบ)

สิ่งที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 9 / 9 (จบ)

01 January 2022

สิ่งที่ต้องมีบนบรรจุภัณฑ์ ตอนที่ 9 / 9 (จบ)

ขั้นตอนการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าของประเทศไทย

การตรวจค้น

  1. แนะนาให้ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนดาเนินการตรวจค้นเครื่องหมายที่จะขอจดทะเบียนว่าเหมือนหรือคล้ายเครื่องหมายการค้าของผู้อื่นหรือไม่
  2. ผู้ค้นต้องเสียค่าธรรมเนียมในการตรวจค้น 100 บาท/ชั่วโมง โดยตรวจค้นด้วยตนเองที่กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอ (ชั้น 3) สานักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือทาง www.ipthailand.go.th ในส่วนบริการออนไลน์เครื่องหมายการค้า

การยื่นคำขอจดทะเบียน

  1. การบริการทั่วไป

1.1 ผู้ยื่นคำขอจดทะเบียนต้องเตรียมเอกสารตามที่กฎหมายกำหนดและกรอกข้อความโดยการพิมพ์ให้สมบูรณ์ ดังนี้

1.1.1 ค่าขอจดทะเบียน (ก.01) ต้นฉบับ 1 ชุด ลงลายมือชื่อผู้มีอำนาจและติดรูปเครื่องหมายการค้า ขนาดกว้าง x ยาว ไม่เกิน 5 เซนติเมตร (หากเกินต้องชาระค่าธรรมเนียมเพิ่มเซนติเมตรละ 100 บาท) ถ่ายสาเนา ก.01 ดังกล่าว อีกจำนวน 5 ชุด

1.1.2 รูปเครื่องหมายอีก จำนวน 5 รูป ขนาดเดียวกับที่ติดในแบบฟอร์ม ก. 01

1.1.3 กรณียื่นในนามนิติบุคคล ใช้หลักฐานต้นฉบับหนังสือรับรองนิติบุคคลที่ขอคัดไม่ เกิน 6 เดือน 1 ฉบับ กรณียื่นในนามบุคคลธรรมดา ใช้หลักฐานสาเนาบัตรประจำตัว 1 ฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสาเนาถูกต้อง กรณีผู้ขอจดทะเบียนอยู่ต่างประเทศ ให้โนตารีพับลิครับรองเอกสารด้วย

1.1.4 หากมีการมอบอำนาจให้บุคคลอื่นยื่นแทน ใช้สาเนาหนังสือมอบอำนาจ (ก.18) พร้อมติดอากรแสตมป์ 30 บาท ต่อผู้รับมอบอำนาจ 1 คน (พร้อมขีดฆ่าอากร) และสาเนาบัตรประจำตัวของผู้รับมอบอำนาจ 1 ฉบับ พร้อมลงลายมือชื่อรับรองสาเนาถูกต้อง

1.2 ยื่นเอกสารต่อเจ้าหน้าที่ พร้อมทั้งชาระค่าธรรมเนียม 500 บาท ต่อสินค้า/บริการ 1 อย่าง

 

1.3 ยื่นขอรับบริการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ได้ดังนี้

1.3.1 กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอ ส่วนบริหารงานจดทะเบียน (ชั้น 3) สานักเครื่องหมาย การค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา

1.3.2 สานักงานพาณิชย์จังหวัด

1.3.3 ทางไปรษณีย์ลงทะเบียนตอบรับถึงนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทาง ปัญญา พร้อมชาระค่าธรรมเนียมโดยทางธนาณัติสั่งจ่ายนายทะเบียนเครื่องหมายการค้า

1.3.4 ทางอินเตอร์เน็ต จากเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th ในส่วนบริการออนไลน์ระบบเครื่องหมายการค้า

  1. การให้บริการทางอินเตอร์เน็ต

2.1 การยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า สามารถยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าทางอินเตอร์เน็ตได้ โดยมีขั้นตอน ดังต่อไปนี้

2.1.1. เข้าเว็บไซต์ www.ipthailand.go.th แล้ว click ระบบเครื่องหมายการค้าในส่วนของบริการออนไลน์ เพื่อเข้าสู่ระบบการให้บริการเครื่องหมายการค้าทางอินเตอร์เน็ต

2.1.2 click ลงทะเบียนสมัครสมาชิกที่นี่ จะปรากฏแบบฟอร์มลงทะเบียนขอใช้งานในระบบ ให้ท่านกรอกรายละเอียดให้ครบถ้วน เช่นเดียวกับการสมัครอีเมล์ทั่ว ๆ ไป (Username และ Password ใช้ภาษาอังกฤษหรือตัวเลขเท่านั้น) แล้ว click ตกลง ก็จะเข้ามาสู่หน้าจอแรกอีกครั้ง

2.1.3 ให้ท่านใส่ Username และ Password ที่ได้สมัครไว้แล้ว click ตกลงเพื่อเข้าสู่ระบบ

2.1.4 จะปรากฏหน้าจอให้บริการในระบบเครื่องหมายการค้า ให้ click ในช่อง User Menu เลือก “คำขอจดทะเบียนเครื่องหมาย (ก.01)”

2.1.5 จะปรากฏแบบฟอร์มให้ท่านกรอกข้อมูลให้ครบถ้วน พร้อมทั้งแนบไฟล์รูปเครื่องหมาย นามสกุล “jpeg” ขนาดไม่น้อยกว่า 30K. แล้วระบุจำพวกและรายการสินค้า/บริการ ที่ต้องการขอรับความคุ้มครอง แล้วใส่จำนวนรายการสินค้า/บริการ ระบบจะแสดงค่าธรรมเนียมโดยอัตโนมัติ คือ รายการสินค้า/บริการ อย่างละ 500 บาท แล้วให้ click ต่อไป จะปรากฏหน้าจอหนังสือมอบอำนาจ (ก.18) ถ้าไม่มีการมอบอำนาจก็ให้ click ตกลง

2.1.6 ก็จะปรากฏหน้าจอเลือกวิธีการชาระค่าธรรมเนียม ซึ่งมี 2 วิธี คือ

2.1.6.1 ผ่านทางธนาคารพาณิชย์ – ออนไลน์ วิธีนี้ท่านต้องเปิดบัญชีแบบมีบัตรเอทีเอ็มของธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (ไทย) (UOB) สาขาใดก็ได้ โดยต้องสมัครสมาชิก i-banking ทางเว็บไซต์ของธนาคาร เมื่อท่านดาเนินการดังกล่าวกับธนาคารเรียบร้อยแล้ว ท่านจะได้ User ID Password และ Account No. จากธนาคาร ซึ่งท่านจะต้องใช้ในการเข้าสู่ระบบการชาระเงิน ซึ่งระบบนี้จะหักค่าธรรมเนียมการยื่นคำขอจดทะเบียนจากบัญชีของท่าน ทั้งนี้ จะต้องเสียค่าธรรมเนียมในการใช้บริการของ i-banking 1,500 บาท ต่อปี

2.1.6.2 ผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (ไทย) (UOB) สาขาใดก็ได้ วิธีนี้สามารถระบุชื่อผู้ที่ต้องการจะออกในใบเสร็จรับเงินได้ ทั้งนี้ จะต้องเสียค่าบริการ 15 บาท ต่อครั้ง

2.1.7 เมื่อท่านเลือกวิธีการชาระเงินแล้วให้ click ชาระเงิน ระบบก็จะเข้าสู่การชาระเงินตามวิธีการที่ท่านเลือก โดยวิธีการชาระเงินแบบ i-banking ก็จะตัดบัญชีของท่านโดยอัตโนมัติ หรือวิธีการชาระเงินผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร ท่านจะต้อง Print “ใบแจ้งการชาระเงิน” แล้วนาไปชาระเงินที่ธนาคารยูไนเต็ดโอเวอร์ซีส์ (ไทย) (UOB) สาขาใดก็ได้ ทั้ง 2 วิธีนี้ กรมทรัพย์สินทางปัญญาจะจัดส่งใบเสร็จรับเงินไปให้ท่านในภายหลัง เมื่อท่านเลือกวิธีการชาระเงินแล้ว ให้ท่าน click “ชาระเงินทันที” ระบบจะปรากฏหมายเลขอ้างอิง ซึ่งเมื่อดาเนินการชาระเงินแล้ว กรมฯ ได้รับเงินค่าธรรมเนียมของท่านก็จะได้ให้เลขที่คำขอ โดยหากยื่นผ่านทางธนาคารแบบออนไลน์ ท่านจะได้เลขที่คำขอทันที หรือหากยื่นโดยผ่านเคาน์เตอร์ธนาคาร (วิธีที่ 2) ท่านจะได้เลขที่คำขอในวันทาการถัดไป ทั้งนี้ เพราะกรมต้องรอรับรายงานการชาระเงินจากธนาคารก่อน จากนั้นเจ้าหน้าที่กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ จะออกเลขที่คำขอให้ท่านก่อนคำขอที่มายื่นขอจดทะเบียนในวันทาการถัดไปดังกล่าว

อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ผ่านขั้นตอนการยื่นคำขอทางอินเตอร์เน็ตแล้ว ตามประกาศกรมทรัพย์สินทางปัญญา เรื่องการยื่นคำขอเกี่ยวกับเครื่องหมายทางอินเตอร์เน็ต ท่านต้องส่งต้นฉบับเอกสารการยื่นคำขอเหมือนการยื่นคำขอด้วยตนเองแก่กรมฯ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีการบันทึกข้อมูลลงในอินเตอร์เน็ต เพื่อที่กรมจะได้พิจารณาดำเนินการต่อไป โดยท่านอาจส่งต้นฉบับทางไปรษณีย์ถึงผู้อำนวยการสานักเครื่องหมายการค้า หรือมายื่นด้วยตนเองก็ได้

2.2 การขอตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมาย

2.2.1 เข้าสู่ระบบเครื่องหมายการค้า โดยสมัครสมาชิกเช่นเดียวกับการยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า ตามข้อ 2.1

2.2.2 เมื่อปรากฏหน้าจอให้บริการในระบบเครื่องหมายการค้า ให้ click ตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมาย

2.2.3 จะปรากฏหน้าจอสาหรับสมาชิกลงทะเบียน เลือกสมัครสมาชิกใหม่ จะปรากฏหน้าจอสมัครสมาชิกเพื่อใช้บริการตรวจสอบความเหมือนคล้าย ให้สมัครสมาชิกและรหัสผ่านแล้วเลือกรูปแบบว่าต้องการตรวจสอบ 1 ชม. 3 ชม. หรือ 5 ชม. ต่อจากนั้นให้เลือกวิธีการชาระเงิน

2.2.4 เลือกวิธีการชาระเงิน และการชาระเงินเช่นเดียวกับข้อ 2.1

2.2.5 เมื่อทาการชาระเงินแล้วทั้ง 2 วิธี (ผ่านทางธนาคารหรือผ่านทางเคาน์เตอร์) ท่านสามารถตรวจสอบความเหมือนคล้ายของเครื่องหมายได้ในวันทาการถัดไป ตั้งแต่เวลา 08.30 น. หมายเหตุ : เมื่อท่านยื่นคำขอจดทะเบียนแล้ว สานักเครื่องหมายการค้าจะทาการตรวจสอบเครื่องหมายและพิจารณาคำขอจดทะเบียน โดยเจ้าหน้าที่อีกครั้งหนึ่ง

2.3 การยื่นแบบคำขออื่น ๆ ท่านสามารถใช้บริการอื่น ๆ ได้ โดยสมัครสมาชิกและชาระค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับ 2.1 กรณีขอรับบริการ เช่น คำขอโต้แย้งการจดทะเบียน เป็นต้น ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเช่นเดียวกับการยื่นตามปกติ อย่างไรก็ตาม หากท่านยื่นขอใช้บริการใด ๆ ทางอินเตอร์เน็ตแล้ว จะต้องส่งต้นฉบับเอกสารพร้อมหลักฐาน (ถ้ากำหนดให้มีหลักฐาน) ดังกล่าว ยื่นต่อกรมฯ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ได้มีการบันทึกข้อมูลลงในอินเตอร์เน็ตด้วย

หมายเหตุ : การขอจดทะเบียนเครื่องหมายชุด (ก.13) ไม่สามารถยื่นทางอินเตอร์เน็ตได้ กรุณาพิมพ์จากแบบฟอร์มในเว็บไซต์กรมฯ 2.4 การใช้บริการอื่น ๆ ท่านสามารถใช้บริการตรวจสอบสถานะคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายการค้า และตรวจสอบรายการคำขอที่ประกาศโฆษณาได้ โดยไม่เสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น

 

การตรวจสอบ

  1. ในขั้นแรกเจ้าหน้าที่จะตรวจสอบเบื้องต้น (Preliminary check) คือตรวจสอบความถูกต้องของเอกสารเท่านั้น (Documentary check)
  2. ต่อมาเจ้าหน้าที่ตรวจสอบและนายทะเบียนจะตรวจสอบว่าเครื่องหมายการค้าที่ขอจดทะเบียน มีลักษณะตามที่กฎหมายกำหนดไว้หรือไม่ กล่าวคือ - ต้องมีลักษณะบ่งเฉพาะ - ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมายและ - ไม่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้อื่น ในขั้นตอนนี้จะใช้เวลาในการตรวจสอบและพิจารณาประมาณ 3 เดือน
  3. ภายหลังตรวจสอบแล้ว เจ้าหน้าที่จะแจ้งผู้ยื่นคำขอทราบผลการตรวจสอบดังต่อไปนี้ ตามแต่กรณี - การรับจดทะเบียน นายทะเบียนจะสั่งประกาศโฆษณาเป็นเวลา 90 วัน หากไม่มีผู้ใดคัดค้านจะรับจดทะเบียน – ปฏิเสธไม่รับ
    จดทะเบียน หากนายทะเบียนเห็นว่าเครื่องหมายที่ยื่นขอจดทะเบียนไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ เป็นเครื่องหมายต้องห้ามตามพระราชบัญญัตินี้ หรือเหมือนคล้ายกับเครื่องหมายการค้าของบุคคลอื่นที่ได้รับจดทะเบียนไว้แล้ว ซึ่งผู้ขอจดทะเบียนสามารถยื่นอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายในเวลาที่กำหนด - ให้แก้ไขเปลี่ยนแปลง - แจ้งผู้ยื่นคำขอว่า เครื่องหมายที่ขอจดทะเบียน มีผู้อื่นยื่นขอจดทะเบียนไว้เช่นกัน ขอให้ผู้ยื่นไปตกลงกันเองก่อน การแจ้งให้แก้ไขคำขอ ผู้ขอจดทะเบียนต้องดาเนินการแก้ไขให้ถูกต้องไม่ว่าจะเป็นการพิมพ์ผิด ระบุข้อความไม่ครบถ้วน ไม่ได้ลงลายมือชื่อ ฯลฯ โดยคิดค่าธรรมเนียมคำขอละ 100 บาท (ก่อนจดทะเบียน) และ 200 บาท (หลังการจดทะเบียน) โดยใช้แบบ ก.06

การแจ้งให้ตกลงกันก่อน

  1. ถ้าผู้ยื่นคำขอตกลงกันได้ และแจ้งให้เจ้าหน้าที่ทราบว่าใครได้สิทธิในเครื่องหมายการค้านั้นไป เจ้าหน้าที่จะดาเนินการประกาศโฆษณาต่อไป
  2. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่สามารถตกลงกันได้คำขอจดทะเบียนที่ยื่นก่อนจะได้รับการจดทะเบียนตามหลัก ใครยื่นก่อนมีสิทธิดีกว่า (First-to-file) การแจ้งไม่ปฏิเสธ
    คำขอ

2.1. เจ้าหน้าที่จะดำเนินการประกาศโฆษณาต่อไป 2. บางกรณีเจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอดาเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้ 2.1 ยื่นคำขอสละสิทธิในคำขอบางส่วนเนื่องจากบางส่วนของเครื่องหมายเป็นสิ่งที่ใช้กัน สามัญในการค้าขายหรือไม่มีลักษณะบ่งเฉพาะ

2.2 ยื่นคำขอจดทะเบียนเครื่องหมายชุด เนื่องจากเป็นเครื่องหมายที่เหมือนหรือคล้ายกับเครื่องหมายของผู้ขอจดทะเบียน โดยเป็นสินค้าที่มีลักษณะอย่างเดียวกัน - ถ้าผู้ยื่นคำขอยอมสละสิทธิ ผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งนายทะเบียนทราบ โดยยื่นหนังสือ แสดงปฏิเสธ (ก.12) ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่งโดยไม่เสียค่าธรรมเนียม หรือผู้ยื่นคำขอยอมจดทะเบียนเครื่องหมายชุด ผู้ยื่นคำขอต้องแจ้งนายทะเบียนทราบโดยยื่นหนังสือจดทะเบียนเครื่องหมายชุด (ก.13) ภายใน 90 วันเช่นกัน และไม่เสียค่าธรรมเนียม - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่เห็นด้วยกับคำสั่งของนายทะเบียน ผู้ยื่นคำขออาจดาเนินการอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าก็ได้ โดยยื่นคำอุทธรณ์ (แบบ ก.03) ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง

การแจ้งปฏิเสธไม่จดทะเบียนคำขอ

  1. ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่อุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียน คำขอนั้นจะถูกจำหน่ายออกจากสารบบ
  2. ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะอุทธรณ์คำสั่งของนายทะเบียนให้ดาเนินการยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่รับหนังสือแจ้งคำสั่ง โดยชาระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ 1,000 บาท หรือ 2,000 บาท (แบบ ก. 03) แล้วแต่กรณีที่ขออุทธรณ์ (ดูอัตราค่าธรรมเนียมท้ายพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ)
  3. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้ามีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งคำวินิจฉัยให้นายทะเบียนทราบ ดังนี้ - ถ้าวินิจฉัยเห็นควรให้จดทะเบียน นายทะเบียนจะดาเนินการประกาศโฆษณาต่อไป - ถ้าวินิจฉัยไม่รับจดทะเบียน นายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอจดทะเบียนออกจากกสารบบและคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าถือเป็นที่สุด การประกาศโฆษณา 1. ถ้านายทะเบียนเห็นสมควรรับจดทะเบียน นายทะเบียนมีคำสั่งประกาศโฆษณาคำขอจดทะเบียนเป็นเวลา 90 วัน โดยสามารถตรวจค้นได้ที่กลุ่มบริการตรวจรับคำขอ ชั้น 3 สานักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือสานักงานพาณิชย์จังหวัด หรือ www.ipthailand.go.th - ถ้าไม่มีการคัดค้านการจดทะเบียนภายใน 90 วัน นับแต่วันประกาศโฆษณาเจ้าหน้าที่ก็จะดาเนินการจดทะเบียนเครื่องหมายนั้นต่อไป - ถ้ามีการคัดค้านการจดทะเบียน โดยเหตุหนึ่ง เหตุใดเช่น เครื่องหมายการค้าไม่มีลักษณะที่จดทะเบียนได้ เครื่องหมายการค้าไม่ได้เป็นของผู้ขอจดทะเบียน หรือการจดทะเบียนไม่ชอบด้วยกฎหมาย ผู้คัดค้านต้องยื่นคำคัดค้านต่อเจ้าหน้าที่พร้อมแสดงหลักฐานและเหตุผล และชำระค่าธรรมเนียมคำคัดค้าน 1,000 บาท (แบบ ก.02) 2. เจ้าหน้าที่จะแจ้งให้ผู้ยื่นคำขอทราบว่ามีบุคคลคัดค้านการจดทะเบียนคำขอนั้น - ถ้าผู้ยื่นคำขอไม่ประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านนายทะเบียนจะจำหน่ายคำขอออกจากสารบบ - ถ้าผู้ยื่นคำขอประสงค์จะโต้แย้งการคัดค้านให้ยื่นคำโต้แย้งต่อนายทะเบียนภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ได้รับสาเนาการคัดค้าน
  4. นายทะเบียนจะพิจารณาในประเด็นที่คัดค้านนั้น เมื่อมีคำวินิจฉัยแล้ว จะแจ้งไปให้คู่กรณีทราบ
  5. คู่กรณีที่เสียประโยชน์อาจอุทธรณ์คำวินิจฉัยของนายทะเบียนได้โดยยื่นคำอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าภายใน 90 วัน นับตั้งแต่วันที่ทราบคำวินิจฉัยของนายทะเบียน โดยชาระค่าธรรมเนียมคำขอฉบับละ 2,000 บาท (แบบ ก. 03)
  6. เมื่อคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าได้วินิจฉัยแล้วนายทะเบียนจะแจ้งผลการวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้าให้แก่คู่กรณีทราบ 6. ถ้าคู่กรณีฝ่ายที่เสียประโยชน์ไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ผู้นั้นอาจนาคดีขึ้นฟ้องศาลได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่ทราบผลคำวินิจฉัยของคณะกรรมการเครื่องหมายการค้า

การจดทะเบียน

  1. เครื่องหมายที่มีลักษณะบ่งเฉพาะ และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย เมื่อผ่านการตรวจสอบจกนายทะเบียนและได้ประกาศโฆษณาแล้ว และผ่านกระบวนการคัดค้านและอุทธรณ์ จนถึงที่สุดเป็นเครื่องหมายที่สามารถจดทะเบียนได้ นายทะเบียนจะแจ้งไปยังผู้ยื่นคำขอทราบให้ดาเนินการชาระค่าธรรมเนียมภายใน 30 วัน นับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
  2. ผู้ยื่นคำขอจะต้องนาหนังสือแจ้งคำสั่งมาติดต่อชาระค่าธรรมเนียมที่กลุ่มบริการตรวจรับ คำขอ (ชั้น 3) สานักเครื่องหมายการค้า กรมทรัพย์สินทางปัญญา หรือที่สานักงานพาณิชย์จังหวัด หรือทางอินเตอร์เน็ต ภายใน 30 วันนับแต่วันได้รับหนังสือแจ้งคำสั่ง เมื่อชาระค่าธรรมเนียมแล้ว ผู้ยื่นคำขอจะได้รับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนไว้เป็นหลักฐาน โดยชาระค่าธรรมเนียมสินค้าหรือบริการอย่างละ 300 บาท ทั้งนี้กรมฯ จะจัดส่งให้ท่านตามที่อยู่ที่ระบุไว้ในคำขอจดทะเบียน ภายในเวลา 2 สัปดาห์หลังจากชำระค่าธรรมเนียม แต่หากผู้ขอจดทะเบียนต้องการขอรับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนในวันที่ชาระค่าธรรมเนียม ผู้ขอจดทะเบียนหรือผู้รับมอบอำนาจ จะต้องเป็นผู้มารับหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนด้วยตนเอง หรืออาจมอบอำนาจแต่งตั้งตัวแทนเฉพาะการให้ดาเนินการแทน โดยต้องยื่นหนังสือมอบอำนาจ ก.18 ติดอากรแสตมป์ 10 บาท พร้อมสาเนาบัตรประจำตัวผู้มอบอำนาจและผู้รับมอบอำนาจ พร้อมรับรองสาเนา แล้วแจ้งเจ้าหน้าที่กลุ่มบริการและตรวจรับคำขอ เพื่อขอรับหนังสือสำคัญเร่งด่วน เจ้าหน้าที่ที่จุดบริการเร่งด่วน (One Stop Service) จะดาเนินการออกหนังสือสำคัญแสดงการจดทะเบียนให้แก่ผู้ขอจดทะเบียน ภายในเวลา 1 ชั่วโมง และไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น

 

หมายเหตุ : อัตราค่าธรรมเนียมดูได้จากท้ายพระราชบัญญัติเครื่องหมายการค้าฯ
 

เอกสารอ้างอิง

คณะกรรมการอาหารและยา, สำนักงาน. (2545). คู่มือผลิตอาหารเพื่อเศรษฐกิจชุมชน. (พิมพ์ครั้งที่ 2). กรุงเทพฯ : โรงพิมพ์สงเคราะห์ทหารผ่านศึก.

ดารณี พานทอง. (2522). สถานะการหีบห่อสินค้าประเภทอาหารใน ประเทศไทย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ณัฏฐิกา         ณวรรณโณ. (2542). ความเกี่ยวพันของผู้บริโภค การตอบสนองต่อโฆษณา และความตั้งใจซื้อผลิตภัณฑ์ดูแล รักษาร่างกายของผู้บริโภคชาย. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นภสร ลิ้มไชยาวัฒน์. (2545). ประสิทธิผลของการออกแบบกราฟฟิกบนบรรจุภัณฑ์ที่มีผลต่อผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นรา    พงษ์อักษร. (2544). ทัศนคติและพฤติกรรมของผู้บริโภคที่มีต่อบัตรเครดิตในรูปของบัตรร่วม. โครงการพิเศษปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา         บริพันธานนท์. (2542). ความสัมพันธ์ระหว่างคุณค่าตรา    สินค้ากับปัจจัยที่เกิดจากการสื่อสารการตลาด. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

นันทนา เอื้อสีทอง และจตุพร วัฒยากร. (2534). รายงานการศึกษา เรื่องอุตสาหกรรมกระดาษในประเทศไทย. กรุงเทพฯ

ทรัพยสินทางปัญญา, กรม. (2542). คู่มือการจดทะเบียนเครื่องหมายการค้าประเทศไทยและประเทศสาธรณรัฐประชาชนลาว. (พิมพ์ครั้งที่ 1).กรุงเทพฯ:หจก.
โรงพิมพ์อักษรไทย.

ประชิด          ทิณบุตร. (2531). การออกแบบบรรจุภัณฑ์. กรุงเทพฯ:โอเดียนสโตร์.

ปุ่น คงเจริญเกียรติ และสมพรคงเจริญเกียรติ. (2541). บรรจุภัณฑ์อาหาร. (พิมพ์ครั้ง
ที่ 1) กรุงเทพฯ : บริษัท โรงพิมพ์หยี่เฮง จำกัด

พนิดา โลเกตุ. (2545). การวัดชื่อเสียงตราสินค้าและปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงของตราสินค้า. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา  จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พรทิพย์         เลือดจีน. (2544). บุคลิกภาพผู้บริโภค บุคลิกภาพตราสินค้า และความตั้งใจซื้อของผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา   จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

พิชิต เลี่ยมพิพัฒน์. (2518). การออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม.   (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : โรงงานกระดาษบางปะอิน

มณีรัตน์ ตันติคุณารักษ์. (2544). ความเกี่ยวพันและพฤติกรรมผู้บริโภคต่อตราสินค้าบุกเบิก. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

มัย ตะติยะ. (2547). ภาพทิวทัศน์. (พิมพ์ครั้งที่ 1). กรุงเทพฯ : สำนักพิมพ์วาดศิลป์.

วารินยา ลีลายุวัฒน์. (2543). การวัดคุณค่าตราสินค้าโดยใช้ความสัมพันธ์ระหว่างตราสินค้ากับผู้บริโภค. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต สาขาวิชาการโฆษณา           จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

วิลาวัณย์ จินวรรณ. (2546). การออกแบบและการผลิตชุดกาแฟเนื้อดินวิเทรียส
ไชนา
. วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต สถาบันราชภัฎพระนคร.

ศุภรัก สุวรรณวัจน์. (2543). การพัฒนาบรรจุภัณฑ์ตามวงจรชีวิต สำหรับสินค้าสะดวกซื้อ กรณีศึกษาผลิตภัณฑ์ผงซักฟอก. วิทยานิพนธ์ ปริญญามหาบัณฑิต จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

ส่งเสริมอุตสาหกรรม, กรม. (2543). การเลือกใช้บรรจุภัณฑ์สำหรับ อุตสาหกรรมอาหารในระดับครัวเรือน. รายงานสภาวะ   บรรจุภัณฑ์ กรุงเทพฯ

สัญญพงศ์ สุวรรณสิทธิ์ และภานุมาศ ทองธนากุล. (2546).   Packaging as a competitive advantage. BrandAge, 4(9), 153-202.

สุดาดวง เรืองรุจะ. (2541). หลักการตลาด. (พิมพ์ครั้งที่ 8.)  กรุงเทพฯ: สำนักพิมพ์ประกายพรึก.

อรสา จิรภิญโญ. (2547). ข้อคิดในการออกแบบลักษณะกราฟฟิกบนภาชนะ
บรรจุ (
Graphic Design). เอกสารประกอบการบรรยายการออกแบบบรรจุภัณฑ์ กทม.

Araon L. Brody and Kenneth S.Marsh.The Wiley. (1997). Encyclopedia of Packaging Technology. (2 nd. ed.) : United State of America

Stafford Cliff. (1999). Trade Secrets of Great Design Packaging. (1st. ) London. : Quintet Publishing Ltd.